เป็นวิชาสาระเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทพลีลา กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาวิชาแบ่งเป็น ๒ ภาคเรียน ภาคเรียนที่ ๑ คือวิชา วรรณกรรมไทยในสื่อภาพยนตร์ และภาคเรียนที่ ๒ คือ วิชาวรรณคดีไทยในสื่อภาพยนตร์ เปิดสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่เลือกเรียนโปรแกรม ศิลป์-คำนวณ และศิลป์ภาษา สาระการเรียนรู้จะเน้นการศึกษางานวรรณกรรมและวรรณคดีไทย ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่าง ตลอดจนการวิจารณ์แสดงความคิดเห็น ซึ่งมีเหตุผลสนับสนุนตามมุมมองและทัศนะต่างๆของผู้เรียน นอกเหนือจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของกำเนิดภาพยนตร์ไทย วรรณกรรมไทยและวรรณคดีไทย

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความหมายของคำว่า”วรรณคดี”กับคำว่า”วรรณกรรม”

ความหมายของคำว่า”วรรณคดี”กับคำว่า”วรรณกรรม”

  คำว่า "วรรณคดี"(Literature) ตามตัวอักษร หมายความว่า "แนวทางแห่งหนังสือ" คำว่าวรรณคดี เป็นคำสมาส ประกอบด้วยคำ "วรรณ" จากรากศัพท์สันสกฤต วรณ แปลว่า หนังสือ กับคำว่า "คดี" จากรากศัพท์บาลี คติ แปลว่า การดำเนิน การไป ความเป็นไป แบบกว้าง ทาง ลักษณะ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) ได้ให้ความหมายว่า หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี  
ความหมายของคำว่า”วรรณคดี”กับคำว่า”วรรณกรรม” บางครั้งนักเรียนนิสิตและนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ  บางคนยังใช้คำสองคำนี้สับสนเพื่อให้เข้าใจความหมายร่วมกันอย่างถูกต้องเพื่อให้ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทยตลอดไป
         คำว่า "วรรณคดี"(Literature) ตามตัวอักษร หมายความว่า "แนวทางแห่งหนังสือ" คำว่าวรรณคดี เป็นคำสมาส ประกอบด้วยคำ "วรรณ" จากรากศัพท์สันสกฤต วรณ แปลว่า หนังสือ กับคำว่า "คดี" จากรากศัพท์บาลี คติ แปลว่า การดำเนิน การไป ความเป็นไป แบบกว้าง ทาง ลักษณะ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) ได้ให้ความหมายว่า หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี[1]
        วรรณคดีคือหนังสือแต่งดี ได้รับยกย่องจากผู้อ่านหลาย ๆ คนเห็นพ้องต้องกันว่าแต่งดี จะเป็น "ร้อยแก้ว" เช่น สามก๊ก ฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือจะเป็น "ร้อยกรอง" เช่น ลิลิตพระลอ หรือบทละครเรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ก็ได้ พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมว่า วรรณคดีเป็นนามธรรมที่เราตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีวิวัฒนาการมาแต่อักษรศาสตร์ กวีได้ใช้ความสามารถรจนาเรื่องนั้น ๆ ขึ้น เช่น จัดวรรคคำ เสียงคำ ให้ได้ความหมาย เกิดอารมณ์ เกิดสุนทรียะ ได้อ่านเรื่องแล้วรู้สึกเพลิดเพลินเกิดอารมณ์คล้อยตามท้องเรื่อง ส่งเสริมความรอบรู้ มีสำนวนโวหารงดงาม ไพเราะ คมคาย จูงใจให้เกิดความซาบซึ้งเพราะใช้คำได้เหมาะกับโอกาสเหตุการณ์เป็นต้น
      คำว่า "วรรณกรรม" มีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Literature Works" หรือ "General Literature" และการใช้คำว่า "วรรณกรรม" มีปรากฏครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ. 2475 โดยให้คำนิยามคำว่า "วรรณกรรมและศิลปกรรม" รวมกันไว้ดังนี้
        วรรณกรรมและศิลปกรรม หมายความรวมว่าการทำขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม เช่น สมุด สมุดเล็ก และหนังสืออื่น ๆ เช่น ปาฐกถา กถาอื่น ๆ เทศนา หรือวรรณกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือนาฏกียกรรม หรือนาฏกีย-ดนตรีกรรม หรือแบบฟ้อนรำและการเล่นแสดงให้คนดูโดยวิธีใบ้ซึ่งการแสดงนั้นได้กำหนดไว้เป็นหนังสือหรืออย่างอื่นๆ…" 
       คำว่า "วรรณกรรม" ก็ได้นิยมใช้กันแพร่หลายมาตามลำดับ และสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมทางวรรณกรรมรวมอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีหน้าที่เผยแพร่วรรณกรรมและส่งเสริมศิลปะการแต่งหนังสือ เพื่อรักษาวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นทางราชการสืบต่อจากวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6(ธวัชปุณโณทก.2527:1)
       พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) อธิบายว่า วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธีหรือในรูปอย่างใด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศัย สุนทรพจน์ สิ่งบันทึกเสียงภาพส่วน ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ และเจตนา นาควัชระ (2520 : 58) ได้ให้ความหมายของวรรณกรรมว่า หมายถึง หนังสือหรือเอกสารที่มีศิลปกรรมในฐานะที่มีรูปแบบมีสาระเนื้อหาที่ผู้เขียนพยายามสื่อความคิดด้วยวิธีการหนึ่งมายังผู้อ่าน
1.วรรณกรรมร้อยแก้วคือวรรณกรรมที่ไม่กำหนดบังคับคำหรือฉันทลักษณ์เป็นความ
เรียงทั่วไปการเขียนในลักษณะนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น
         1.1 บันเทิงคดี (Fiction) คือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นประการสำคัญ และให้ข้อคิด คตินิยม หรือ สอนใจ แก่ผู้อ่านเป็นวัตถุประสงค์รอง ดังที่ ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2518 : 9) กล่าวว่า บันเทิงคดี เป็นวรรณกรรมที่ผู้ประพันธ์มีจุดประสงค์ที่ให้ความเพลิดเพลิน แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าบันเทิงคดีเป็นวรรณกรรมที่ไร้สาระ บันเทิงคดีอาจมีสาระในด้านปรัชญา ด้านความเข้าใจการเมือง หรือประวัติศาสตร์ดีกว่าหนังสือสารคดีบางเรื่องก็ได้ วรรณกรรม ประเภทนี้ผู้ประพันธ์มุ่งหมายให้ความบันเทิง ต้องกระทบอารมณ์ผู้อ่านมิใช่สำหรับให้ผู้อ่านได้ความรู้หรือความคิดเห็นบันเทิงคดีสามารถจำแนกย่อยได้ดังนี้ 
                1.1.1 นวนิยาย (Novel) คือ การเขียนผูกเรื่องราวของชีวิตอันมีพฤติกรรมร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน ในลักษณะจำลองสภาพชีวิตของสังคมส่วนหนึ่งส่วนใด โดยมีความมุ่งหมายให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่าน คือให้ผู้อ่านเกิดสะเทือนอารมณ์ไปกับเนื้อเรื่องอย่างมีศิลปะ
                1.1.2 เรื่องสั้น (Short Story) คือ การเขียนเรื่องจำลองสภาพชีวิตในช่วงสั้น คือมุมหนึ่งของชีวิต หรือเหตุการณ์หนึ่ง หรือช่วงระยะหนึ่งของชีวิต เพื่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจผู้อ่าน หรือ นิยามอีกอย่างหนึ่ง ว่า เรื่องสั้น คือ วิกฤตการณ์ชุดหนึ่ง มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน และนำไปสู่จุดยอดหนึ่ง
                1.1.3 บทละคร (Drama) คือการเขียนที่ใช้ประกอบการแสดงเพื่อให้เกิดความบันเทิง เช่น บทละครวิทยุ บทละครพูด และบทละครโทรทัศน์ เป็นต้น
2.วรรณกรรม ร้อยกรอง คือ วรรณกรรมที่การเขียนมีการบังคับรูปแบบด้วยฉันทลักษณ์ต่างๆ เช่น บังคับคณะ บังคับคำ และแบบแผนการส่งสัมผัสต่าง ๆ บางครั้งเรียกงานเขียนประเภทนี้ว่า กวีนิพนธ์ หรือ คำประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต เป็นต้น นอกจากนี้วรรณกรรมร้อยกรองยังแบ่งเป็นชนิดย่อยๆดังนี้
        2.1. วรรณกรรมประเภทบรรยาย (Narrative) คือ วรรณกรรมร้อยกรองที่มีโครงเรื่อง ตัวละคร และเหตุการณ์ต่าง ๆ ผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันไป เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนาเป็นต้น 
        2.2. วรรณกรรมประเภทพรรณา หรือ รำพึงรำพัน ( Descriptive or Lyrical) มักเป็นบทร้อยกรองที่ผู้แต่งมุ่งแสดงอารมณ์ส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีโครงเรื่อง เช่น นิราศ และเพลงยาวเป็นต้น        
        2.3. วรรณกรรมประเภทบทละคร (Dramatic) เป็นบทร้อยกรองสำหรับการอ่านและใช้เป็นบทสำหรับการแสดงด้วย เช่น บทพากย์โขน บทละครร้อง บทละครรำ เป็นต้น
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/494570

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น