เป็นวิชาสาระเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทพลีลา กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาวิชาแบ่งเป็น ๒ ภาคเรียน ภาคเรียนที่ ๑ คือวิชา วรรณกรรมไทยในสื่อภาพยนตร์ และภาคเรียนที่ ๒ คือ วิชาวรรณคดีไทยในสื่อภาพยนตร์ เปิดสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่เลือกเรียนโปรแกรม ศิลป์-คำนวณ และศิลป์ภาษา สาระการเรียนรู้จะเน้นการศึกษางานวรรณกรรมและวรรณคดีไทย ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่าง ตลอดจนการวิจารณ์แสดงความคิดเห็น ซึ่งมีเหตุผลสนับสนุนตามมุมมองและทัศนะต่างๆของผู้เรียน นอกเหนือจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของกำเนิดภาพยนตร์ไทย วรรณกรรมไทยและวรรณคดีไทย

วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คำอธิบายรายวิชา รายวิชา ท ๓๒๒๐๑ วรรณกรรมไทยในสื่อภาพยนตร์

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ท ๓๒๒๐๑ วรรณกรรมไทยในสื่อภาพยนตร์                                                       กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๕                                                                  เวลาเรียน ๔๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน  จำนวน ๑.๐ หน่วยกิต


ศึกษาวรรณกรรมไทยร่วมสมัยที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เกี่ยวกับที่มา เนื้อเรื่อง ข้อคิดและคุณค่าในด้านวรรณศิลป์ สังคมและการเมืองไทย
ศึกษาความเป็นมาและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพยนตร์ไทย เปรียบเทียบความแตกต่างของเนื้อหา   วรรณกรรมไทยร่วมสมัย กับบทภาพยนตร์  วิเคราะห์วิจารณ์ ประเมินคุณค่าอย่างมีวิจารณญาณ
                        ศึกษาหลักการวิจารณ์และเลือกชมภาพยนตร์อย่างมีวิจารณญาณ
                        ศึกษารูปแบบและความรู้เบื้องต้นในการเขียนบทภาพยนตร์
สัมภาษณ์นักเขียน ผู้กำกับภาพยนตร์หรือผู้สร้างภาพยนตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะ ข้อเท็จจริงและเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมและภาพยนตร์
นำความรู้และประสบการณ์การอ่านวรรณกรรมไทยร่วมสมัยและการดูภาพยนตร์มาใช้พัฒนาการคิด วิเคราะห์ การเขียน การพูด การตัดสินใจแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และการสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต
มีทักษะและวิจารณญาณในการพิจารณาสื่อต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล เห็นความแตกต่างของสื่อแต่ละประเภท
            ที่มีผลต่อความคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคลโดยสามารถแยกแยะได้


ผลการเรียนรู้
            ๑. อ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยในด้านเนื้อหา  รูปแบบ คุณค่าด้านวรรณศิลป์  สังคมและ       การเมืองไทย
            ๒. บอกเล่าตำนานภาพยนตร์ไทย ประวัติและความเป็นมา และวิวัฒนาการของภาพยนตร์ไทย
            ๓. เปรียบเทียบเนื้อหาวรรณกรรมร่วมสมัยและบทภาพยนตร์ วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินคุณค่าอย่างมีเหตุผล
            ๔. ฝึกเขียนบทภาพยนตร์เบื้องต้นและนำเสนอนวัตกรรมที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมร่วมสมัย
            ๕ เลือกอ่านและดูสื่อที่มีคุณค่าและมีประโยชน์



                                                                                                        นางนัยนา    จิตรรังสรรค์ : ครูผู้สอน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น