เป็นวิชาสาระเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทพลีลา กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาวิชาแบ่งเป็น ๒ ภาคเรียน ภาคเรียนที่ ๑ คือวิชา วรรณกรรมไทยในสื่อภาพยนตร์ และภาคเรียนที่ ๒ คือ วิชาวรรณคดีไทยในสื่อภาพยนตร์ เปิดสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่เลือกเรียนโปรแกรม ศิลป์-คำนวณ และศิลป์ภาษา สาระการเรียนรู้จะเน้นการศึกษางานวรรณกรรมและวรรณคดีไทย ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่าง ตลอดจนการวิจารณ์แสดงความคิดเห็น ซึ่งมีเหตุผลสนับสนุนตามมุมมองและทัศนะต่างๆของผู้เรียน นอกเหนือจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของกำเนิดภาพยนตร์ไทย วรรณกรรมไทยและวรรณคดีไทย

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำอธิบายรายวิชาวรรณคดีไทยในสื่อภาพยนตร์ (ท๓๒๒๐๔)

คำอธิบายรายวิชา
รายวิชา ท ๓๒๒๐๔ วรรณคดีไทยในสื่อภาพยนตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
เวลาเรียน ๔๐ ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน ๑.๐ หน่วยกิต

ศึกษาวรรณคดีไทยที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับที่มา เนื้อเรื่อง ข้อคิดและคุณค่าด้านวรรณศิลป์
สังคมและการเมืองไทย
ศึกษาตำนานภาพยนตร์ไทย ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของภาพยนตร์ไทย ดาราภาพยนตร์ไทย
รางวัลทางภาพยนตร์ไทย
เปรียบเทียบความแตกต่างของเนื้อหาวรรณคดีไทยกับบทภาพยนตร์ วิเคราะห์ วิจารณ์
และประเมินคุณค่าอย่างมีวิจารณญาณ
ศึกษาแหล่งเรียนรู้หอภาพยนตร์แห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย
ศึกษาและฝึกเขียนบทภาพยนตร์เบื้องต้น
คัดเลือกและนำเสนอภาพตัวละครจากวรรณคดีไทยจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
นำความรู้และประสบการณ์การอ่านวรรณคดีไทยและการดูภาพยนตร์มาใช้พัฒนาการคิด วิเคราะห์
การเขียน การพูด การตัดสินใจแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและการสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต
นำเสนอนวัตกรรมที่ได้จากการอ่านวรรณคดีไทยมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนมีทักษะและวิจารณ
ญาณในการพิจารณาและแยกแยะการนำเสนอข้อมูลของสื่อทุกประเภทได้

ผลการเรียนรู้
๑. อ่านและวิเคราะห์วรรณคดีไทยต่างๆในด้านเนื้อหา รูปแบบ คุณค่าด้านวรรณศิลป์
สังคมและการเมืองไทย
๒. บอกเล่าตำนานภาพยนตร์ไทย ประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของภาพยนตร์ไทย
๓. เปรียบเทียบเนื้อหาวรรณคดีไทยในสมัยต่างๆและบทภาพยนตร์ วิเคราะห์ วิจารณ์
ประเมินคุณค่าอย่างมีวิจารณญาณ
๔.ฝึกเขียนบทภาพยนตร์เบื้องต้นและนำเสนอนวัตกรรมที่ได้จากการอ่านวรรณคดีไทยที่นำมาสร้างเป็นสื่อภาพยนตร์
๕. คัดเลือกและนำเสนอภาพตัวละครจากวรรณคดีไทย จากสื่อสิ่งพิมพ์พร้อมวิเคราะห์ วิจารณ์บทบาทและพฤติกรรมของตัวละคร
๖.นำเสนอรายงานการศึกษาแหล่งเรียนรู้ได้ชัดเจน
๗. เลือกอ่านและดูสื่อที่มีคุณค่าและมีประโยชน์
๘. สร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ

นางนัยนา จิตรรังสรรค์ : ครูผู้สอน