เป็นวิชาสาระเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทพลีลา กรุงเทพมหานคร

เนื้อหาวิชาแบ่งเป็น ๒ ภาคเรียน ภาคเรียนที่ ๑ คือวิชา วรรณกรรมไทยในสื่อภาพยนตร์ และภาคเรียนที่ ๒ คือ วิชาวรรณคดีไทยในสื่อภาพยนตร์ เปิดสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ที่เลือกเรียนโปรแกรม ศิลป์-คำนวณ และศิลป์ภาษา สาระการเรียนรู้จะเน้นการศึกษางานวรรณกรรมและวรรณคดีไทย ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไทย โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่าง ตลอดจนการวิจารณ์แสดงความคิดเห็น ซึ่งมีเหตุผลสนับสนุนตามมุมมองและทัศนะต่างๆของผู้เรียน นอกเหนือจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของกำเนิดภาพยนตร์ไทย วรรณกรรมไทยและวรรณคดีไทย

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความหมายของคำว่า”วรรณคดี”กับคำว่า”วรรณกรรม”

ความหมายของคำว่า”วรรณคดี”กับคำว่า”วรรณกรรม”

  คำว่า "วรรณคดี"(Literature) ตามตัวอักษร หมายความว่า "แนวทางแห่งหนังสือ" คำว่าวรรณคดี เป็นคำสมาส ประกอบด้วยคำ "วรรณ" จากรากศัพท์สันสกฤต วรณ แปลว่า หนังสือ กับคำว่า "คดี" จากรากศัพท์บาลี คติ แปลว่า การดำเนิน การไป ความเป็นไป แบบกว้าง ทาง ลักษณะ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) ได้ให้ความหมายว่า หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี  
ความหมายของคำว่า”วรรณคดี”กับคำว่า”วรรณกรรม” บางครั้งนักเรียนนิสิตและนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ  บางคนยังใช้คำสองคำนี้สับสนเพื่อให้เข้าใจความหมายร่วมกันอย่างถูกต้องเพื่อให้ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทยตลอดไป
         คำว่า "วรรณคดี"(Literature) ตามตัวอักษร หมายความว่า "แนวทางแห่งหนังสือ" คำว่าวรรณคดี เป็นคำสมาส ประกอบด้วยคำ "วรรณ" จากรากศัพท์สันสกฤต วรณ แปลว่า หนังสือ กับคำว่า "คดี" จากรากศัพท์บาลี คติ แปลว่า การดำเนิน การไป ความเป็นไป แบบกว้าง ทาง ลักษณะ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) ได้ให้ความหมายว่า หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี[1]
        วรรณคดีคือหนังสือแต่งดี ได้รับยกย่องจากผู้อ่านหลาย ๆ คนเห็นพ้องต้องกันว่าแต่งดี จะเป็น "ร้อยแก้ว" เช่น สามก๊ก ฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือจะเป็น "ร้อยกรอง" เช่น ลิลิตพระลอ หรือบทละครเรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ก็ได้ พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมว่า วรรณคดีเป็นนามธรรมที่เราตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีวิวัฒนาการมาแต่อักษรศาสตร์ กวีได้ใช้ความสามารถรจนาเรื่องนั้น ๆ ขึ้น เช่น จัดวรรคคำ เสียงคำ ให้ได้ความหมาย เกิดอารมณ์ เกิดสุนทรียะ ได้อ่านเรื่องแล้วรู้สึกเพลิดเพลินเกิดอารมณ์คล้อยตามท้องเรื่อง ส่งเสริมความรอบรู้ มีสำนวนโวหารงดงาม ไพเราะ คมคาย จูงใจให้เกิดความซาบซึ้งเพราะใช้คำได้เหมาะกับโอกาสเหตุการณ์เป็นต้น
      คำว่า "วรรณกรรม" มีความหมายตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Literature Works" หรือ "General Literature" และการใช้คำว่า "วรรณกรรม" มีปรากฏครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ. 2475 โดยให้คำนิยามคำว่า "วรรณกรรมและศิลปกรรม" รวมกันไว้ดังนี้
        วรรณกรรมและศิลปกรรม หมายความรวมว่าการทำขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม เช่น สมุด สมุดเล็ก และหนังสืออื่น ๆ เช่น ปาฐกถา กถาอื่น ๆ เทศนา หรือวรรณกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือนาฏกียกรรม หรือนาฏกีย-ดนตรีกรรม หรือแบบฟ้อนรำและการเล่นแสดงให้คนดูโดยวิธีใบ้ซึ่งการแสดงนั้นได้กำหนดไว้เป็นหนังสือหรืออย่างอื่นๆ…" 
       คำว่า "วรรณกรรม" ก็ได้นิยมใช้กันแพร่หลายมาตามลำดับ และสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมทางวรรณกรรมรวมอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีหน้าที่เผยแพร่วรรณกรรมและส่งเสริมศิลปะการแต่งหนังสือ เพื่อรักษาวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นทางราชการสืบต่อจากวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6(ธวัชปุณโณทก.2527:1)
       พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) อธิบายว่า วรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด ไม่ว่าแสดงออกมาโดยวิธีหรือในรูปอย่างใด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศัย สุนทรพจน์ สิ่งบันทึกเสียงภาพส่วน ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ และเจตนา นาควัชระ (2520 : 58) ได้ให้ความหมายของวรรณกรรมว่า หมายถึง หนังสือหรือเอกสารที่มีศิลปกรรมในฐานะที่มีรูปแบบมีสาระเนื้อหาที่ผู้เขียนพยายามสื่อความคิดด้วยวิธีการหนึ่งมายังผู้อ่าน
1.วรรณกรรมร้อยแก้วคือวรรณกรรมที่ไม่กำหนดบังคับคำหรือฉันทลักษณ์เป็นความ
เรียงทั่วไปการเขียนในลักษณะนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น
         1.1 บันเทิงคดี (Fiction) คือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นประการสำคัญ และให้ข้อคิด คตินิยม หรือ สอนใจ แก่ผู้อ่านเป็นวัตถุประสงค์รอง ดังที่ ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2518 : 9) กล่าวว่า บันเทิงคดี เป็นวรรณกรรมที่ผู้ประพันธ์มีจุดประสงค์ที่ให้ความเพลิดเพลิน แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าบันเทิงคดีเป็นวรรณกรรมที่ไร้สาระ บันเทิงคดีอาจมีสาระในด้านปรัชญา ด้านความเข้าใจการเมือง หรือประวัติศาสตร์ดีกว่าหนังสือสารคดีบางเรื่องก็ได้ วรรณกรรม ประเภทนี้ผู้ประพันธ์มุ่งหมายให้ความบันเทิง ต้องกระทบอารมณ์ผู้อ่านมิใช่สำหรับให้ผู้อ่านได้ความรู้หรือความคิดเห็นบันเทิงคดีสามารถจำแนกย่อยได้ดังนี้ 
                1.1.1 นวนิยาย (Novel) คือ การเขียนผูกเรื่องราวของชีวิตอันมีพฤติกรรมร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน ในลักษณะจำลองสภาพชีวิตของสังคมส่วนหนึ่งส่วนใด โดยมีความมุ่งหมายให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่าน คือให้ผู้อ่านเกิดสะเทือนอารมณ์ไปกับเนื้อเรื่องอย่างมีศิลปะ
                1.1.2 เรื่องสั้น (Short Story) คือ การเขียนเรื่องจำลองสภาพชีวิตในช่วงสั้น คือมุมหนึ่งของชีวิต หรือเหตุการณ์หนึ่ง หรือช่วงระยะหนึ่งของชีวิต เพื่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจผู้อ่าน หรือ นิยามอีกอย่างหนึ่ง ว่า เรื่องสั้น คือ วิกฤตการณ์ชุดหนึ่ง มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน และนำไปสู่จุดยอดหนึ่ง
                1.1.3 บทละคร (Drama) คือการเขียนที่ใช้ประกอบการแสดงเพื่อให้เกิดความบันเทิง เช่น บทละครวิทยุ บทละครพูด และบทละครโทรทัศน์ เป็นต้น
2.วรรณกรรม ร้อยกรอง คือ วรรณกรรมที่การเขียนมีการบังคับรูปแบบด้วยฉันทลักษณ์ต่างๆ เช่น บังคับคณะ บังคับคำ และแบบแผนการส่งสัมผัสต่าง ๆ บางครั้งเรียกงานเขียนประเภทนี้ว่า กวีนิพนธ์ หรือ คำประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต เป็นต้น นอกจากนี้วรรณกรรมร้อยกรองยังแบ่งเป็นชนิดย่อยๆดังนี้
        2.1. วรรณกรรมประเภทบรรยาย (Narrative) คือ วรรณกรรมร้อยกรองที่มีโครงเรื่อง ตัวละคร และเหตุการณ์ต่าง ๆ ผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันไป เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนาเป็นต้น 
        2.2. วรรณกรรมประเภทพรรณา หรือ รำพึงรำพัน ( Descriptive or Lyrical) มักเป็นบทร้อยกรองที่ผู้แต่งมุ่งแสดงอารมณ์ส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีโครงเรื่อง เช่น นิราศ และเพลงยาวเป็นต้น        
        2.3. วรรณกรรมประเภทบทละคร (Dramatic) เป็นบทร้อยกรองสำหรับการอ่านและใช้เป็นบทสำหรับการแสดงด้วย เช่น บทพากย์โขน บทละครร้อง บทละครรำ เป็นต้น
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/494570

ภาพยนตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน
ภาพยนตร์ คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง

เทคโนโลยีภาพยนตร์[แก้]

ภาพยนตร์ คือ ภาพนิ่ง หลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฏในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ ปัจจุบัน ความเร็วที่ใช้ในการถ่ายทำคือ 24 เฟรม ต่อ 1 วินาที
ในยุคต่อมามีการพัฒนาภาพยนตร์สามมิติ โดยให้ผู้ชมสวมใส่แว่นตาพิเศษเพื่อให้ได้อรรถรสในการชม โดยภาพที่เห็นมีมิติความลึกสมจริง ในปี พ.ศ. 2495 ภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง Bwana Evil เป็นภาพยนตร์สามมิติเรื่องแรกและล่าสุดในปี 2010 "อวตาร" เป็นภาพยนตร์ที่มีคนเข้าชมในระบบ 3 มิติเป็นจำนวนมาก [1]

ประวัติ[แก้]

ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที
ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน
ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย[2]
ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น VCD, DVD และ Blu-ray Disc เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต[3]

พัฒนาการของภาพยนตร์[แก้]

  • พ.ศ. 2438 ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก "Arrival of a Train at La Ciotat" ออกฉายที่กรุงปารีส มีความยาว 50 วินาที
  • พ.ศ. 2439 ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรกของโลก "The Devil's Castle" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2439 ฉาก Love Scene ฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง "The Kiss" มีฉากจูบกันอย่างดูดดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 15 วินาที จากความยาวของภาพยนตร์ 47 วินาที
  • พ.ศ. 2440 ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับชาติสยามครั้งแรกถูกถ่ายทำขึ้น คือภาพยนตร์สั้นของการเสด็จประพาสยุโรปของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2444 ภาพยนตร์ภัยพิบัติเรื่องแรกของโลก "Fire!" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2445 ภาพยนตร์แนวไซไฟ (นิยายวิทยาศาสตร์ Science Fiction) เรื่องแรกของโลก "A Trip to the Moon" ออกฉายก่อนการไปเยือนดวงจันทร์จริง 67 ปี
  • พ.ศ. 2448 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีสัตว์เป็นสุนัขร่วมแสดง "Rescued by Rover" ออกฉาย ใช้ทุนเพียง 37.40 ดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนต่ำที่สุด และ Guiness Book บันทึกไว้
  • พ.ศ. 2449 ภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องแรกของโลก "The Story of the Kelly Gang" ออกฉายด้วยความยาว 70 นาที
  • พ.ศ. 2449 การ์ตูนเรื่องแรกของโลก "Humorous Phases of Funny Faces" ออกฉายที่อเมริกาความยาว 3 นาที
  • พ.ศ. 2457 ภาพยนตร์ตลกเรื่องแรกของโลก "Tillie's Punctured Romance" ออกฉาย รับบทโดย ชาร์ลี แชปลิน
  • พ.ศ. 2458 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ยาวกว่า 100 นาที เรื่องแรกของโลก "The Birth of a Nation" ออกฉาย และเป็นเรื่องแรกที่ได้ฉายในทำเนียบขาว
  • พ.ศ. 2459 ฉากเปลือยฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง A Daughter of the Gods ถ่ายทำที่น้ำตก โดย Annette Kellerman ที่เปลือยเต็มตัว
  • พ.ศ. 2460 การ์ตูนยาวเรื่องแรกของโลก "El Apostol" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2466 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก "นางสาวสุวรรณ" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2468 เริ่มมีการฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก คือเรื่อง "The Lost World"
  • พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของโลก "The Jazz Singer" และภาพยนตร์ไทย ทำโดยคนไทยเรื่องแรก "โชคสองชั้น" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2471 ภาพยนตร์การ์ตูนมีเสียงเรื่องแรกออกฉาย คือ มิกกี้ เมาส์ Steamboat Willie
  • พ.ศ. 2475 ภาพยนตร์เสียงของไทยเรื่องแรก "หลงทาง" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์สีเรื่องแรกของไทย "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์"
  • พ.ศ. 2480 ภาพยนตร์การ์ตูนสีเรื่องยาวเรื่องแรกของโลก "สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง "วิมานลอย" (Gone With The Wind) เป็นภาพยนตร์ที่ยาวที่สุดในโลก ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 58 นาที
  • พ.ศ. 2488 ภาพยนตร์ที่มีคนแสดงร่วมกับตัวการ์ตูนเรื่องแรก "Anchors Aweigh" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2498 การ์ตูนไทยเรื่องแรก "เหตุมหัศจรรย์" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2499 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายภาพใต้ท้องทะเล "The Silent World" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2522 การ์ตูนไทยขนาดยาวเรื่องยาว "สุดสาคร" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2538 การ์ตูนที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ล้วนเรื่องแรก "ทอย สตอรี่" ออกฉาย

วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

กำเนิดภาพยนตร์โลกและของไทย

ภาพยนตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน
ภาพยนตร์ คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้
ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง

เทคโนโลยีภาพยนตร์[แก้]

ภาพยนตร์ คือ ภาพนิ่ง หลาย ๆ ภาพเรียงติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา และเมื่อนำเอาภาพนิ่งเหล่านั้นมาฉายดูทีละภาพด้วยอัตราความเร็วในการฉายต่อภาพเท่า ๆ กัน สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฏในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพนิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นธรรมชาติ ปัจจุบัน ความเร็วที่ใช้ในการถ่ายทำคือ 24 เฟรม ต่อ 1 วินาที
ในยุคต่อมามีการพัฒนาภาพยนตร์สามมิติ โดยให้ผู้ชมสวมใส่แว่นตาพิเศษเพื่อให้ได้อรรถรสในการชม โดยภาพที่เห็นมีมิติความลึกสมจริง ในปี พ.ศ. 2495 ภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง Bwana Evil เป็นภาพยนตร์สามมิติเรื่องแรกและล่าสุดในปี 2010 "อวตาร" เป็นภาพยนตร์ที่มีคนเข้าชมในระบบ 3 มิติเป็นจำนวนมาก [1]

ประวัติ[แก้]

ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที
ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน
ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย[2]
ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น VCD, DVD และ Blu-ray Disc เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต[3]

พัฒนาการของภาพยนตร์[แก้]

  • พ.ศ. 2438 ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก "Arrival of a Train at La Ciotat" ออกฉายที่กรุงปารีส มีความยาว 50 วินาที
  • พ.ศ. 2439 ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรกของโลก "The Devil's Castle" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2439 ฉาก Love Scene ฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง "The Kiss" มีฉากจูบกันอย่างดูดดื่มต่อเนื่องเป็นเวลา 15 วินาที จากความยาวของภาพยนตร์ 47 วินาที
  • พ.ศ. 2440 ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับชาติสยามครั้งแรกถูกถ่ายทำขึ้น คือภาพยนตร์สั้นของการเสด็จประพาสยุโรปของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พ.ศ. 2444 ภาพยนตร์ภัยพิบัติเรื่องแรกของโลก "Fire!" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2445 ภาพยนตร์แนวไซไฟ (นิยายวิทยาศาสตร์ Science Fiction) เรื่องแรกของโลก "A Trip to the Moon" ออกฉายก่อนการไปเยือนดวงจันทร์จริง 67 ปี
  • พ.ศ. 2448 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีสัตว์เป็นสุนัขร่วมแสดง "Rescued by Rover" ออกฉาย ใช้ทุนเพียง 37.40 ดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนต่ำที่สุด และ Guiness Book บันทึกไว้
  • พ.ศ. 2449 ภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องแรกของโลก "The Story of the Kelly Gang" ออกฉายด้วยความยาว 70 นาที
  • พ.ศ. 2449 การ์ตูนเรื่องแรกของโลก "Humorous Phases of Funny Faces" ออกฉายที่อเมริกาความยาว 3 นาที
  • พ.ศ. 2457 ภาพยนตร์ตลกเรื่องแรกของโลก "Tillie's Punctured Romance" ออกฉาย รับบทโดย ชาร์ลี แชปลิน
  • พ.ศ. 2458 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ยาวกว่า 100 นาที เรื่องแรกของโลก "The Birth of a Nation" ออกฉาย และเป็นเรื่องแรกที่ได้ฉายในทำเนียบขาว
  • พ.ศ. 2459 ฉากเปลือยฉากแรกของโลก ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง A Daughter of the Gods ถ่ายทำที่น้ำตก โดย Annette Kellerman ที่เปลือยเต็มตัว
  • พ.ศ. 2460 การ์ตูนยาวเรื่องแรกของโลก "El Apostol" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2466 ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก "นางสาวสุวรรณ" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2468 เริ่มมีการฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก คือเรื่อง "The Lost World"
  • พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของโลก "The Jazz Singer" และภาพยนตร์ไทย ทำโดยคนไทยเรื่องแรก "โชคสองชั้น" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2471 ภาพยนตร์การ์ตูนมีเสียงเรื่องแรกออกฉาย คือ มิกกี้ เมาส์ Steamboat Willie
  • พ.ศ. 2475 ภาพยนตร์เสียงของไทยเรื่องแรก "หลงทาง" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์สีเรื่องแรกของไทย "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์"
  • พ.ศ. 2480 ภาพยนตร์การ์ตูนสีเรื่องยาวเรื่องแรกของโลก "สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2482 ภาพยนตร์เรื่อง "วิมานลอย" (Gone With The Wind) เป็นภาพยนตร์ที่ยาวที่สุดในโลก ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 58 นาที
  • พ.ศ. 2488 ภาพยนตร์ที่มีคนแสดงร่วมกับตัวการ์ตูนเรื่องแรก "Anchors Aweigh" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2498 การ์ตูนไทยเรื่องแรก "เหตุมหัศจรรย์" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2499 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายภาพใต้ท้องทะเล "The Silent World" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2522 การ์ตูนไทยขนาดยาวเรื่องยาว "สุดสาคร" ออกฉาย
  • พ.ศ. 2538 การ์ตูนที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ล้วนเรื่องแรก "ทอย สตอรี่" ออกฉาย